วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning

Collaborative Learning  
การเรียนรู้การทำงานร่วมกัน

การเรียนรู้ร่วมกัน หมายถึง     การที่ผู้เรียนที่มีระดับความสามารถในการปฏิบัติต่างกัน ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบการเรียนรู้ของผู้อื่นเท่ากับของตนเอง ความสำเร็จของผู้เรียนคนหนึ่งช่วยให้คนอื่นประสบความสำเร็จด้วย
       การเรียนรู้ร่วมกันในบริบทของ E-Learning กระทำได้หลายลักษณะ เช่น การทำโครงงานร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในกระดานข่าว  การแสดงความคิดเห็นในกระทู้ทางวิชาการ การทำงานมอบหมายเป็นกลุ่ม เป็นต้น ทั้งนี้การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันในเว็บมีให้เลือกใช้ทั้งที่เป็นสาธารณะ
และพัฒนาขึ้นเพื่อการใช้งานของกลุ่มสมาชิก




ที่มา
http://vod.msu.ac.th/0503409/2_7_6.htm

Blended learning

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน




.....เบล็นเด็ดเลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
.....การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน
....."Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"
การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)

.....การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
.....- รวม รูปแบบการเรียนการสอน
.....- รวม วิธีการเรียนการสอน
.....- รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่างรวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามาสู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีกด้วย



ตัวอย่าง
       1. Blended Learning    นั้นจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สิ่งต่อไป  ในช่วงปลายยุค 90 นั้น ทุกๆคนต่างหันมาให้ความสนใจกับอย่างมากมาย การฝึกอบรมผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเติบโตมากขึ้นในโลกของการสื่อสาร  ผู้คนเสียเวลากับการอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของพวกเขา  ปัจจุบันนี้เราได้รู้ว่าปัญหาที่แตกต่างกันก็ต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกัน (ต้องใช้การผสมผสานที่ต่างๆกันในการผสมสื่อ และช่องทางการสื่อสาร) และเราเชื่อว่านั้นคือกุญแจสำคัญ  ในการผสมผสานที่ถูกต้อง ที่จะช่วยในการแก้ปัญหาต่างๆ 
 
2. การเรียนแบบผสมผสานให้เหมาะกับทรัพยากรของคุณ            เราคำถามที่เกิดขึ้นมากมายนั้นก็คือ อะไรที่จะนำมารวมกันระหว่าง เครื่องมือ กับสื่อต่างๆ ที่จะส่งผลที่ดีที่สุดกลับมาและใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด>>> กุญแจสำหรับ Blended Learning    ก็คือ การเลือกส่วนผสมที่ถูกต้องในการรวมสื่อต่างๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุดสำหรับการลงทุนที่มูลค่าต่ำที่สุด. 
 
3.สื่อแต่ละประเภทมีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยอยู่ในตัว  การที่จะทำให้ Blended Learning   นั้นมีความสามารถที่มากขึ้นเต็มความสามารถของการผสมผสานนั้น คุณอาจจะเริ่มต้นที่จะมองหาสื่อต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การฝึกอบรมในชั้นเรียน ,การฝึกอบรมผ่านทางเครือข่าย ,การสัมมนาผ่านทางเครื่อข่าย, ชุดการเรียนการสอนด้วย CD-ROM  หรือแบบจำลองสถานการณ์การเรียนรู้ต่างๆ  สื่อต่างๆนั้นคือความน่าตื่นเต้นเล็กน้อย แต่ที่สำคัญจะต้องรวม หนังสือ เอกสารต่างๆ
 
4. Blended Learning   ทำให้เราต้องคิดเกี่ยวกับปัญหาทางด้านธุรกิจ   เมื่อคุณเริ่มตัดสินใจที่จะใช้สื่อต่างๆ หรือเริ่มที่จะทำการผสมผสาน จุดจะต้องเริ่มทำการบริหารจัดการกับการเก็บข้อมูล และย่อมที่จะต้องเจอกับปัญหาในการใช้เครื่องมือต่างๆ อย่างแน่นอน  เมื่อคุณเริ่มที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ก็ต้องเริ่มที่จะเจอกับ ความเสี่ยง เวลา และงบประมาณ 
 
5. เทคโนโลยีไม่ได้ง่าย และสะดวกทุกที่ทุกเวลาอย่างที่เราคิด  เมื่อเราใช้เทคโนโลยีมาก ก็ยากแก่การที่จะควบคุมได้ทั้งหมด เมื่อเรานำ เทคโนโลยีมาใช้เราก็ต้องจัดการโครงสร้างของการทำงานให้เข้ากับเทคโนโลยีหรือไม่ก็ต้องออกแบบหรือสร้างโครงสร้างของการทำงานขึ้นมาใหม่  ซึ่งโครงสร้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นมานั้นสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นได้อย่างมากมาย
 
6. การคิดถึงกระบวนการแปรรูป




ที่มา
http://bunmamint10.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Online Game

Online Game




           เกมส์ออนไลน์ (Online Game) หมายถึง วิดีโอเกมที่เล่นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต เกมส์ออนไลน์มีส่วนที่คล้ายคลึงกับเกมส์หลายผู้เล่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Multiplayer) เกมส์ออนไลน์ส่วนมากจะเป็นเกมส์แบบ MMO (Massive Multiplayer Online) หรือก็คือเกมส์หลายผู้เล่นที่รับจำนวนผู้เล่นได้มหาศาลในพื้นที่ๆหนึ่ง (ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป) เกมส์ออนไลน์ได้รับความนิยมมาก

ที่มา
          http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C

Edutainment

Edutainment



                           เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน คือ สื่อมัลติมีเดีย การจัดสภาพแวดล้อมห้องเรียน และกิจกรรมที่หลากหลายชนิด มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสุขสนุกสนานในการเล่นปนเรียน (Play & Learn) เปลี่ยนบรรยากาศหรือรูปแบบเดิมๆ ที่เคยเรียน ตามแนวคิดที่ว่าสิ่งบันเทิงสามารถสร้างความสนใจได้มากกว่าการเรียนตามปกติ โดยที่อาจารย์จะเป็นเพียงผู้คอยอำนวยความสะดวกให้เท่านั้น มีการวางแผนล่วงหน้าเป็นการเฉพาะด้วยการจัดกิจกรรม (Activity) ให้นักศึกษาทำ เมื่อนักศึกษากระทำกิจกรรมใดแล้วเกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน นักศึกษาย่อมอยากทำกิจกรรมนั้นๆ ซ้ำอีกแน่นอน ผู้สอนจะต้องพิจารณาบทเรียนต่างๆ ที่มีทั้งในและนอกหลักสูตร พยายามให้บทเรียนแต่ละเนื้อหามีความเคลื่อนไหวด้วยกิจกรรม และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นต่อไปด้วยการมอบหมายงานให้ไปหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อมัลติมีเดียที่ได้จัดเตรียมเอาไว้ล่วงหน้า เป็นสื่อที่ใช้ง่าย เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการของผู้สอนที่จะมอบหมายงานและกระตุ้นให้นักศึกษา เสาะแสวงหาด้วยตนเอง หรือช่วยกันค้นหา และนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ ซึ่ง “วิธีการ” ดังกล่าวนี้แหละคือหัวใจของการเรียนรู้แบบศึกษาบันเทิง  


ที่มา
        http://www.tirubaa.com/edutainment.html
        http://www.gotoknow.org/posts/386007

E - Learning / Learning Management System / M - Learning

E - Learning 


                            หมายถึง  การเรียนการสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น ต้องกระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ที่มา
        http://www.netthailand.com/home/articles.php?art_id=12&start=1


 Learning Management System

             Learning Management System  (LMS)  หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา
       http://www.kroobannok.com/1585
       http://nunui-nunoi.blogspot.com/2012/09/lms.html
  
M - Learning


                m-Learning (mobile learning)  คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package)  ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network)และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ  ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง
ได้แก่  Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell  Phonesในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ที่มา
       http://mobileben.wordpress.com/2010/06/02/what-is-mobile-learning/
       https://sites.google.com/site/goolpatra/m-learning-khux-xari






     

สารานุกรมออนไลน์

สารานุกรมออนไลน์



                    สารานุกรม คือหนังสือที่รวมความรู้หลายๆ แขนง ในลักษณะอธิบายขยายความในเรื่องนั้นๆ ต่างจากพจนานุกรมที่ให้เพียงความหมาย ดังนั้น สารานุกรมจึงมีหลายเล่ม และแต่ละเล่มก็หนาๆ ทั้งนั้น ตัวอย่างสารานุกรม เช่น สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ , สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ฉบับเสริมการเรียนรู้ โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น  สามารถใช้งานได้สะดวกสะบาย


                    วิกิพีเดีย Wikipediaสารานุกรมออนไลน์ที่มีให้อ่านแทบทุกภาษาในโลก และแน่นอนว่ามีภาษาไทยด้วย วิกิพีเดีย ประกอบด้วยความรู้มากมายหลายแขนง และอาจกล่าวได้ว่าทันสมัยที่สุด เพราะเป็นสารานุกรมที่มีการอัพเดทข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา
       http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=166&main_menu_id=23
       http://my.dek-d.com/AngelTVXQ/blog/?blog_id=10150593
   

webboard / Internet Forum

webboard 


                     WebBoard คือเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web (WWW ) ซึ่ง WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยทั่วไปมักเรียกเว็บบอร์ด(webboard)ว่า บอร์ด  หรือ กระดานข่าวสาร กระดานข่าวสารนั้นยังมีชื่อเรียกอื่นอีกมากมาย อาทิเช่น กระดานสนทนาออนไลน์,เว็บบอร์ด,เว็บฟอรัม,ฟอรัม,เมสเซจบอร์ด,บุลเลตอินบอร์ด,ดิสคัชชันบอร์ด ตัวอย่างในเว็บบอร์ดไทยได้แก่ พันทิป, เอ็มไทย เป็นต้น
 
ที่มา            http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2075-webboard-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-.html


Internet Forum



                         Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง (virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม


ที่มา     
     http://landofsmileseal.fr.yuku.com/topic/109/proxy
     http://www.l3nr.org/posts/462349